DataTel is specialist of Telephone PABX, IP-PBX, VoIP, CCTV, WiFi, Wireless network and Telephone call saving solution
Solution
PABX Direct Line (DID)
Voice Over IP (VoIP)
10 reasons to IP-PBX
VoIP Gateway Connection
Mobile Virtual Private Network (MVPN)
Wireless Lan
Internet WiFi HotSpot
CCTV System
IP Surveillance
Voice Logger
TEL: 076-235334 / Mobile: 096-1470897   Home | Service | Support | Contact Us | About Us
PABX
LG-Ericsson
NEC
Matrix
Telephone
Siemens Gigaset
IP-PABX
Plextel
Xorcom
Yeastar
IP Phone
Snom
Yealink
Moimstone
VoIP Gateway
Matrix
Xorcom
Mobile Gateway
Matrix
FAX Server
Yeastar
Voice Logger
Xtend
Networking
Tenda
Ubiquiti
CCTV
HikVision
IP Cameara
HikVision
Security
Commax
Call Saving
DeeCall VoIP
Credit card
       
Track EMS
Track EMS
 
Untitled Document
ก้าวอย่างแห่งความปลอดภัยบนพื้นฐานไอพี (IP Surveillance)


     ต้องขอขอบคุณความก้าวหน้าทางด้านอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบูมสุดๆของสปีดความเร็วที่เพิ่มขึ้นมากมายในราคาที่แทบไม่น่าเชื่อหลายๆ เทคโนโลยีที่อิงบนพื้นฐานของระบบไอพีต่างได้รับอานิสงค์กันไปอย่างเต็มเปี่ยม ยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ การรับส่งข้อมูล, การอัพโหลด/ดาวน์โหลดไฟล์ (โดยฉพาะพวกวิดีโอสตรีมมิง), การประชุมด้วยระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์, รวมไปจนถึงการใช้งานระบบกล้องวงจรปิดที่ใช้ไอพีเป็นสื่อกลาง (IP Surveillance System) ซึ้งเป็นประเด็นฮิตที่หน้าสนใจและจะนำมาพูดคุยกันในวันนี้

                                            

 

พัฒนาการของระบบระวังภัย

     เราคงจะคุ้นชินกับการที่เดินไปตามสถานที่สำคัญต่างๆไม่ว่าจะเป็น ห้างสรรพสินค้า, สนามบิน, โรงแรม, สถานทูต ๆลๆ แล้วจะพบกล้องวงจรปิดติดอยู่ตามผนัง, ตามเสา, ใต้ฝ้าเพดานและปัจจุบันยังขยายไปติดอยู่ตามสี่แยกไฟแดง (ซึ้งใช้ได้เป็นอย่างดีในกรณีที่เราขับรถแค่ฝ่าไฟเหลืองยังไม่ถึงแดงเลย และก็จะใช้ไม่ได้เลยในกรณีที่มีเหตุการณ์สำคัญอย่างเช่น กรณีลอบยิงคุณสนธิ ลิ้มๆ) โดยส่วนใหญ่กล้องวงจรปิดดังกล่าวเป็นกล้องประเภทแบบรุ่นดั้งเดิมที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน บนพื้นฐานของระบบอะนาล็อก ซึ้งเรามักจะรียกมันว่า “กล้อง Closed-circuittelevision” หรือ กล้อง, CCTV นั้นเอง

      ในอดีตกล้อง CCTV นิยมใช้กันในเชิงของคอร์ปอเรดและเอ็นเทอร์ไพรส์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นในบริษัท, โรงแรม ตลอดจนภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการตรวจดูความเคลื่อนไหว และพฤติกรรมต่างๆโดยทั่วไปแล้วระบบ CCTVจะประกอบไปด้วยอุปกรณ์หลักอยู่ไม่กี่อย่าง คือ
1.ตัวกล้อง : จะทำหน้าที่ในการสอดส่องความเคลื่อนไหวติดตั้งอยู่ ณ จุดภายนอกอาคารโดยกล้องเหล่านี้จะสามารถทำการซูม (Zoom) จากระยะใกล้ไปไกลได้หลายเท่าตัว และนอกจากจะทำการซูมได้แล้ว บางรุนสามารถทำการหมุน (PAN) ได้เกือบจะ360 องศา และทำการก้ม-เงย (Tilt) ได้องศาถึง 125 องศา (หรืออาจจะมากว่านั้น เมื่อกล้องจับภาพได้แล้วก็จะทำการส่งสัญญาณไปยังจุดศูนย์กลาง การส่งสัญญาณในลักษณะนี้จะมีความต่างกับตัวสัญญาณที่เป็น Broadcast Television (สัญญาณเปิด)เพราะเป็นสํญญาณปิด ทำการรับส่งไปมาระหว่างตัวส่ง (ในที่นี้คือตัวกล้อง) และตัวรับสัญญาณที่อยู่ตรงศูนย์กลางทำให้เห็นความเคลื่อนไหวหรือสิ่งผิดปกติ ณ จุดที่เราต้องการได้ทันที
2.ตัวรับสัญญาณ : เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่รวมเอาหน้าจอซิ่งอาจจะเป็นทีวีหรือจอคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะอยู่ในจุดรวมศูนย์หรือห้องปฎิบัติการ ( surveillance Room) เพื่อให้ผู้บริหารระบบสามารถดูความเคลื่อนไหวความหน้าผ่านหน้าจอดังกล่าวได้
3.ตัวบันทึกสัญญาณ :สำหรับอุปกรณ์ประเภทนี้จะทำหน้าที่ในการเก็บบันทึกภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ที่ตัวกล้องส่งกลับมา และเก็บข้อมูลเอาไว้ และสามารถนำกลับมาดูย้อนหลังได้อีกครั้งหนึ่ง ตัวบันทึกสัญญาณมีทั้งที่เป็นแบบเครื่องบันทึกเทปวิดีโอ VCR (Video cassette Recorder) และเครื่องบันทึกวิดีโอในรูปแบบดิจิตอล DVR (Digital Video Recorder ) รวมทั้งในปัจจุบันยังมีทั้งที่บันทึกลงในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์โดยตรง ความสามารถของตัวบันทึกจะขึ้นอยู่กับขนาดของความจุของตัวบันทึก และการตั้งค่าความละเอียดของตัวกล้อง บางรุ่นสามารถบันทึกได้อย่างต่อเนื่องยาวนานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่บางรุ่นก็จะบันทึกเฉพาะวันเวลาที่ต้องการเท่านั้น

      กล้องวงจรปิดในลักษณะที่เป็นดั้งเดิมนี้จะใช้สายเคเบิลประเภทที่เป็นแบบ Coaxial ในการนำสัญญาณอนาล็อก ซึ่งต้องมีการเดินสายไปยังจุดรวมสายในห้องปฎิบัติการที่กำหนดเอาไว้ หากมีกล้องเป็นจำนวนมากก็ต้องเดินสายเป็นจำนวนมากตามไปด้วย เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณในการเดินสายเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน ส่วยตัวกล้องเองนั้นก็ยังต้องอาศัยระบบไฟฟ้าในการจ่ายไฟอยุ่ตลอดเวลา ทำให้ต้องมีอะแดปเตอร์ในการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานไฟฟ้าส่งผ่านให้กับตัวกล้องอยุ่ตลอดเวลาด้วย เท่ากับว่า ในจุดที่องค์กรจะทำการติดกล้อง CCTV ลงไปก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องของปลั๊กไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้าในการหล่อเลี้ยงตัวกล้องด้วย
ก้าวสู่ยูคของ IP System

     ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่าโลกของอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมากมายที่อิงบนพื้นฐานของระบบไอพี และระบบกล้องวงจรปิดก็เช่นเดียวกัน จากเดิมที่เป็นแบบกล้องวงจรปิดใช้สัญญาณอะนาล็อกธรรมดา ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนสู่การใช้งานระบบไอพีเป็นตัวนำสัญญาณแทน ผ่านระบบ LAN (สาย UTP) หรือแม้กระทั่งอาจจะทำงานผ่านระบบไอพีแบบไร้สายก็ทำได้เช่นกัน ซึ้งเราเรียกกล้องประเภทนี้ว่าเป็น IP Camera (บางเวนเดอร์อาจจะเรียกว่า Network Camera )

      ในขณะที่องค์กรที่ยังมีกล้องที่เป็น CCTV แบบดั้งเดิมนั้นก็สามารถที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้การส่งผ่านสัญญาณด้วยการอิงบนพื้นฐานของไอพีก็ทำได้เหมือนกัน แต่อาจจะต้องเพิ่มอุปกรณ์ที่เป็นตัวแปลงสัญญาณจากอะนาล็อกไปเป็นดิจิตอลเสียก่อน แต่ในปัจจุบันระบบ IP Surveillance System ยุคใหม่จะมีอุปกรณ์กล้องที่รองรับไอพีได้โดยตรง เอ๊ะ!!! มาถึงตรงนี้หลายคนคงจะสงสัยว่า แล้วทำไม่ต้องหันมาใช้ระบบระวังภัยที่เป็นแบบ IP Camera ด้วยเล่า? ของเดิมที่ใช้อยู่ก็ดีอยู่แล้วไม่ไช่เหรอ? คำตอบคือ ถูกต้องครับ ! อุปกรณ์ชุดกล้อง CCTVของเดิมที่องค์กรหรือบริษัทที่ใช้อยู่แล้วนั้น ก็ยังใช้ได้ปกติไม่มีปัญหา หรือรำคาญใจท่านแต่อย่างใด เพียงแต่ถ้าท่านต้องการที่จะอัพเกรดความสามารถของระบบกล้องวงจรปิดเดิมๆของท่านให้สามารถก้าวสู่โลกของ IP Surveillance Sys-tem ได้อย่างเต็มรูปแบบ (ในราคาที่ประหยัดมากขึ้นมากขึ้นกว่าระบบเดิม ) หรือองค์กรใดที่ยังไม่มีโซลูชันระวังภัยดังกล่าวนี้ ผมว่าก็ควรจะต้องพิจารณาถึงโซลูชันที่เรากำลังนำเสนอนี้น่ะครับ
ความเหนือชั้นในการทำงานที่มากกว่า

     แน่นอนว่า การถือกำเนิดของนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆย่อมให้ประสิทธิภาพและการทำงานที่ดีขึ้น อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานมากขึ้น ตลอดจนยังช่วยในเรื่องลดค่าใช้จ่ายขององค์กรได้อีกมากมาย



      แต่สำหรับ IP Surveillance นั้นได้ให้สบประการณ์กับองค์กรธุรกิจและผู้ใช้งานอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อนในกล้องวงจรปิดในอดีต ซึ่งปัจจัยที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นเครื่องยืนยันขีดความสามารถให้กับเทคโนโลยี IP Surveillance มีต่างๆดังต่อไปนี้

การอิงบนพื้นฐานระบบไอพี : ระบบกล้องวิดีโอยุคใหม่จะอิงบนพื้นฐานเทคโนโลยีไอพีมีข้อดีดังต่อไปนี้
  1. สามารถเอาสาย LAN หรือสาย UTP นั้นจิ้มตรงเข้าไปที่ตัวกล้องและใช้งานได้ทันที ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิลใหม่แต่อย่างใด
  2. หากว่ากล้องดังกล่าวนั้นสนับสนุนเทโนโลยี PoE (power over Ethernet )ด้วยแล้ว ก็จะทำให้คุณไม่จำเป็นต้องเพิ่มปลั๊กไฟฟ้าเลย เพราะเทคโนโลยี PoE นี้จะจ่ายไฟผ่านมาทางสาย LAN โดยอัตโนมัติ ข้อดีอันนี้ทำให้คุณสามารถเคลื่อนย้ายกล้องไปไหนมาได้ได้อย่างง่ายดาย ข้อให้มีแค่สาย LANวิ่งผ่านไปยังจุดที่คุณจะวางนั้นก็พอแล้ว
  3. เราสามารถคอนฟิกค่าต่างๆของตัวกล้องได้ผ่านทางระบบเว็บเบส เข้าไปที่ตัวไอพีของกล้องได้ผ่านทางระบบเว็บเบส เข้าไปที่ตัวกล้อง (ตัวกล้องจะถูกกำหนดเลขไอพีเอาไว้จาก DHCP เซิร์ฟเวอร์หรือไม่ก็กำหนดโดยตรง ) หรือจะใช้แอพพลิเคชันที่มาพร้อมกับตัวกล้องในการคอนฟิกก็ทำได้เช่นกัน ทั้งนี้เพื่อกับหนดความปลอดภัยในการเข้าถึงตัวกล้อง, การกำหนดเวลาบันทึก, การกำหลดการจับภาพ การปรับค่าของแสงที่ตกกระทบ หรือเป็นค่าอื่นๆ ตามที่คุณต้องการได้อย่างเรียลไทม์ หากเป็นกล้อง ยุคเก่า อาจจะต้องเสียเวลาถอดกล้องออกมาแล้วเอาสายเคเบิลสำหรับการจัดการ (เป็นสายเคเบิลเฉพาะในการคอนฟิกอุปกรณ์) เพื่อมากำหนดค่าต่างๆให้กับตัวกล้อง อีกทั้งกล้องบางรุ่นไม่สามารถคอนฟิกค่าอะไรได้เลยเป็นต้น

คุณภาพของอุปกรณ์ : พัฒนาการของตัวกล้องที่เป็นแบบ IP Camera นั้นเริ่มมีขีดความสามารถที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น ในกรณีของการให้ภาพที่มีเป็นลักษณะเป็นสีที่กำหนด เป็นลักษณะของเมกะฟิกเซล (Mega-Pixel) ทำให้มีความละเอียดของภาพที่สูง เมื่อผนวกกับเทคโนโลยีการสแกนภาพที่เป็นแบบโพรเกรสซีฟสแกน (Progressive Scan) ทำให้ภาพที่ออกมามีความละเอียดที่สูงยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ยังเลือกระบบโคเดคที่จะใช้ในการบีบอัดสำหรับการส่งผ่านสัญญาณ อาทิเช่น Motion JPEG, MPEG-4 Part หรือแบบ H.264 ก็ยังได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถทำการซูมในลักษณะที่เป็นแบบดิจิตอลซูมได้ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการมองเห็นภาพที่อยู่ไกลออกไปได้ดีกว่าการใช้การซูมแบบธรรมดาด้วย

ฟังก์ชันการทำงาน : คุณสามารถเซตค่าที่ตัวระบบให้คุณมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวต่างๆผ่านอินเทอร์เน็ทได้ แม้ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ทั้งนี้ก็เพราะว่าการอิงบนพื้นฐานไอพี ทำให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ ดังนั้นคุณสามารถที่จะแอ็กเซสผ่านทางบราวเซอร์และมอนิเตอร์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นภายในองค์กรหรือโรงงานที่กล้อง IP Camera ของคุณติดตั้งอยู่ผ่านทางอินเทอร์เน็ทได้แบบเรียลไทม์ นอกจากนั้นยังมีฟังก์ชันและฟีเจอร์การทำงานที่น่าสนใจ อย่างเช่น การกำหนดพาสส์เวิร์ดหรือการเข้ารหัสให้กับตัวกล้องได้ เพื่อป้องกันผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าไปปรับค่าคอนฟิกของอุปกรณ์ได้

ในอุปกรณ์บางรุ่นยังสามารถทำการอินทิรเกรดกับระบบระวังภัยอื่นๆได้ เช่นระบบแอ็คเซส คอนโทรล , ระบบ Alarm, ระบบการจัดการอาคาร , ระบบการจัดการจราจร เป็นต้น

Relate Product
  • HikVision IP Camera
  •  
                             
                             
                                  
    Copyrights © datatel.co.th 2009. All rights reserved.